
- การกับเก็บน้ำ ลองลดอาหารที่เป็นสาเหตุของการกับเก็บน้ำในร่างกายมากขึ้น เช่น เกลือ น้ำอัดลม ฯลฯ และหันมากินผลไม้อย่างแตงโม ส้ม ซึ่งจะช่วยลดการกักเก็บน้ำและขจัดน้ำในร่างกายได้มาก
- แพ้อาหาร อาการ แพ้อาหารอาจเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่อาจทำให้น้ำหนักตัวของคุณไม่ ขยับลง การแพ้อาหารที่ส่งผลต่อน้ำหนักที่พบกันมากที่สุด คือ การแพ้ข้าวสาลี เนื่องจากข้าวสาลีมีส่วนผสมของกลูเตนที่อาจรบกวนระบบการย่อย การแพ้ข้าวสาลีจึงทำให้มีปัญหาในการย่อยอาหาร มีอาการท้องผูก ท้องอืด คลื่นไส้ เป็นตะคริวง่าย อารมณ์แปรปรวน และอยากอาหาร นอกจากนี้อาจเช็คอาการแพ้อย่างอื่นด้วย เพราะอาจส่งต่อน้ำหนักตัวและเกิดอาการบวมได้เช่นกัน
- พันธุกรรม ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า พันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วนถึง 30-40% อย่างไรก็ตามถ้าคุณบังเอิญมียีนส์อ้วน ก็ใช่จะหมดหวังว่าจะลดน้ำหนักไม่ได้ เพราะนักวิจัยชาวเยอรมันพบว่า คนที่ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ก็อาจช่วยลดน้ำหนักได้
- การออกกำลังกายแบบเดิมๆ ร่างกายของเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรการออกกำลังกายที่คุณทำเป็น ประจำ โดยใช้พลังงานน้อยลง ดังนั้น การเปลี่ยนกิจวัตรการออกกำลังกายหรือลองออกกำลังแบบใหม่ๆ จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
- นอนไม่พอ งานวิจัยหลายชิ้นพบความเชื่อมโยงระหว่างการนอนหลับกับฮอร์โมนที่มีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมการกินของเรา ซึ่งได้แก่ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่รับผิดชอบต่อความรู้สึกหิวและเลปติว (Leptin) ที่จะบอกสมองว่า เมื่อไหร่ควรจะหยุดกิน แต่ถ้าคุณนอนไม่พอ ฮอร์โมนเกรลินจะเพิ่มขึ้น ขณะที่เลปติวจะลดลง ผลก็คือความอยากเพิ่มขึ้นและไม่รู้สึกอิ่ม คนส่วนใหญ่ต้องการนอนประมาณวันละ 7-9 ชั่วโมง